ฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater) เป็นฮีตเตอร์ที่ให้ความร้อนกับชิ้นงานโดยหลักการนำพาความร้อน ใช้งานในตู้อบหรืองานที่ต้องให้ความร้อนกับอากาศภายในห้อง เช่น งานอบชิ้นงานอุตสาหกรรมรถยนต์, อบพลาสติก, อบไม้, อบแม่พิมพ์, อบสี, อบใยผ้า, ลดความชื้นในระบบทำความเย็นเป็นต้น
คุณสมบัติทั่วไปของฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater) บางส่วน
- วัสดุเป็นท่อสแตนเลส 304, ท่อ Incoloy
- มีลักษณะเป็นแท่งตรง หรือดัดเป็นตัวยู ดับเบิ้ลยู มีครีบอยู่รอบแท่งความร้อน
- ครีบช่วยระบายความร้อนออกจากตัวฮีตเตอร์ สามารถใช้วัตต์ได้สูงกว่าไม่มีครีบ
- เป็นฮีตเตอร์ที่ให้ความร้อนคงที่สม่ำเสมอ อายุการใช้งานยาวนาน
- สามารถเลือกขนาดความยาว/โวลต์/วัตต์ ได้ตามลักษณะการใช้งาน
- เหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมและงานอบทั่วไป
วัตถุดิบในการผลิต ฮีตเตอร์ครีบ (Finned Heater)
- ท่อสแตนเลส 304, ท่อ Incoloy
- ลวดนิเกิล N80 จากประเทศ สวีเดน
- ครีบสแตนเลส 304
- แบบมีเกลียวติดตั้งและไม่มีเกลียวติดตั้ง
- เซรามมิคปิด ปากท่อ, เซรามิคปิดขั่วน๊อต
- ผงแมกนีเซียมออกไซด์ (Mgo)
- แกนพันลวด
Back to main menu...
-
ฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater)

ฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater) เป็นฮีตเตอร์ที่ให้ความร้อนกับชิ้นงานโดยหลักการนำพาความร้อน ใช้งานในตู้อบหรืองานที่ต้องให้ความร้อนกับอากาศภายในห้อง เช่น งานอบชิ้นงานอุตสาหกรรมรถยนต์, อบพลาสติก, อบไม้, อบแม่พิมพ์, อบสี, อบใยผ้า, ลดความชื้นในระบบทำความเย็นเป็นต้น
คุณสมบัติทั่วไปของฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater) บางส่วน
- วัสดุเป็นท่อสแตนเลส 304, ท่อ Incoloy
- มีลักษณะเป็นแท่งตรง หรือดัดเป็นตัวยู ดับเบิ้ลยู มีครีบอยู่รอบแท่งความร้อน
- ครีบช่วยระบายความร้อนออกจากตัวฮีตเตอร์ สามารถใช้วัตต์ได้สูงกว่าไม่มีครีบ
- เป็นฮีตเตอร์ที่ให้ความร้อนคงที่สม่ำเสมอ อายุการใช้งานยาวนาน
- สามารถเลือกขนาดความยาว/โวลต์/วัตต์ ได้ตามลักษณะการใช้งาน
- เหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมและงานอบทั่วไป
ฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater) แบ่งออกเป็น 2 แบบตามลักษณะการติดตั้ง
- ฮีตเตอร์ครีบแบบตัว I (Tubular Heater I-Shape)
- ฮีตเตอร์ครีบแบบตัว U (Tubular Heater U-SHape)
วัตถุดิบในการผลิต ฮีตเตอร์ท่อกลม (Tubular Heater)
- ท่อสแตนเลส 304, ท่อ Incoloy
- ลวดนิเกิล N80 จากประเทศ สวีเดน
- ครีบสแตนเลส 304
- แบบมีเกลียวติดตั้งและไม่มีเกลียวติดตั้ง
- เซรามมิคปิด ปากท่อ, เซรามิคปิดขั่วน๊อต
- ผงแมกนีเซียมออกไซด์ (Mgo)
- แกนพันลวด
Back to main menu...
-
ฮีตเตอร์ต้มน้ำ/ฮีตเตอร์จุ่ม (Immersion Heater)

ฮีตเตอร์ต้มน้ำ หรือ ฮีตเตอร์จุ่ม (Immersion Heater) เป็นฮีตเตอร์ที่ใช้เพื่อต้มหรืออุ่นของเหลว เหมาะสำหรับทุกอุตสาหกรรมที่มีการต้มหรืออุ่นของเหลวหลากหลายชนิด(ของเหลวที่ไม่ทำปฏิกิริยากับสแตนเลส) และควรให้กับใบพัดกวนของเหลวเพื่อให้ความร้อนกระจายได้ทั่วถึง
คุณสมบัติทั่วไปของฮีตเตอร์ต้มน้ำ / ฮีตเตอร์จุ่ม (Immersion Heater) บางส่วน
- วัสดุเป็นท่อสแตนเลส 304, ท่อ Incoloy
- มีลักษณะเป็นแท่งกลมดัดเป็นตัวยูยึดอยู่กับเกลียว
- ใช้งานกับของเหลวอย่างเช่น น้ำ, น้ำมัน
- สามารถเลือกขนาดโวลต์/วัตต์ รูปแบบได้ตามลักษณะการใช้งาน
วัตถุดิบในการผลิต ฮีตเตอร์ต้มน้ำ หรือ ฮีตเตอร์จุ่ม (Immersion Heater)
- ท่อสแตนเลส 304, ท่อ Incoloy
- ลวดนิเกิล N80 จากประเทศ สวีเดน
- แบบมีเกลียวติดตั้ง,ไม่มีเกลียวติดตั้ง หรืออื่นๆ
- เซรามมิคปิด ปากท่อ, เซรามมิคปิดขั่วน๊อต
- Connetion Star, Dalta
- ผงแมกนีเซียมออกไซด์ (Mgo)
- แกนพันลวด
ประโยชน์การนำไปใช้งาน ฮีตเตอร์ต้มน้ำ หรือ ฮีตเตอร์จุ่ม (Immersion Heater)
- เป็นฮีตเตอร์ที่ใช้เพื่อต้มหรืออุ่นของเหลวได้เกือบทุกประเภท เช่น ต้นน้ำ ต้มน้ำมัน ฯลฯ
- ใช้สำหรับอุ่นต้มที่ต้องการความสะอาด เช่น ใช้อุ่นอาหาร, เครื่องดื่ม ฯลฯ
Back to main menu...
-
ฮีตเตอร์รัดท่อ (Band Heater)

ฮีตเตอร์รัดท่อเป็นฮีตเตอร์อีกประเภทหนึ่งที่นิยมใช้กันแพร่หลาย ด้วยรูปทรงที่เป็นทรงกระบอกและให้ความร้อนได้คงที่สม่ำเสมอ ฮีตเตอร์ชนิดนี้การใช้งานตัวฮีตเตอร์จะไม่สัมผัสกับตัว Product โดยตรงแต่จะแพร่ความร้อนไปหาตัว Product แทนจึงเป็นที่นิยมในอุตสาหกรรมต่างๆ และยังสะดวกต่อการติดตั้งและแเมนทแนนท์ ได้รับการออกแบบสำหรับถัง หรือท่อรูปทรงกระบอก ฉนวนของฮีทเตอร์ทำจากแผ่น Mica และ ลวดฮีทเตอร์แบบแบน(Ribbon Wire Heating Element) จึงทำให้ฮีทเตอร์ชนิดนี้ มีเส้นผ่าศูนย์กลางเล็ก ขนาด 25 mm.หรืออาจใหญ่ถึง 300 mm. ก็ได้ ส่วนความกว้างอยู่ระหว่าง 20-100mm. ตัวถังด้านนอกจะเป็นแผ่นเหล็ก หรือ สแตนเลส เหมาะสำหรับให้ความร้อนกับเครื่องฉีดพลาสติก
คุณสมบัติทั่วไป ||ฮีตเตอร์รัดท่อ (Band Heater)
- ฮีตเตอร์รัดท่อมีรูปทรงเป็นทรงกระบอกจึงเหมาะที่จะไปใช้งานรัดท่อหรือถังเพื่อให้ความร้อน
- ตัวเรือนฮีตเตอร์ทำจากสแตนเลส ภายในสามารถเลือกได้ว่าจะใช้เป็นแผ่นฉนวนหรือแกนเซรามิก ทำให้ทนต่อการใช้งาน
- ให้ความร้อนได้คงที่และสม่ำเสมอ
- สามารถเลือกเจาะรูหรือเลือกขั้วต่อไฟได้ตามต้องการ
- สามารถใช้กับงานที่ไม่ต้องให้ความร้อนโดยตรงกับ Product
ประโยชน์การนำไปใช้งาน ฮีตเตอร์รัดท่อ (Band Heater)
- ใช้ในเครื่องฉีดพลาสติก เช่น ใช้ในการให้ความร้อนบริเวณหัวฉีด เป็นต้น
- ใช้ในอุตสาหกรรมกาว เช่น ใช้ในส่วนของท่อส่งกาว เป็นต้น
- ใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม เช่น ใช่ในส่วนของท่อส่งน้ำมัน เป็นต้น
- ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น กระติกน้ำร้อน เป็นต้น
Back to main menu...
-
ฮีตเตอร์แผ่น (Strip Heater)

ฮีตเตอร์แผ่นถูกนำไปใช้งานอุตสาหกรรมอย่างแพร่หลาย โดยจะนำไปใช้ในลักษณะงานตัดงานบรรจุหีบห่อและแม่พิมพ์ และจะถูกใช้งานมากในงานอุตสาหกรรมพลาสติก อุตสาหกรรมอาหาร เครื่องบรรจุภัณฑ์และงานแม่พิมพ์เป็นต้น
ฮีตเตอร์แผ่นเป็นฮีตเตอร์อีกประเภทหนึ่งที่มีลักษณะภายนอกเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมหรือวงกลม ตามลักษณะตำแหน่งที่จะนำไปใช้งาน โครงสร้างภายในจะมีแผ่นฉนวน ( แผ่นไมกา ) อยู่ตรงกลางแล้วพันด้วยลวดฮีตเตอร์ หรือเป็นเซรามิกอยู่ด้านในแล้วพันด้วยลวดฮีตเตอร์ด้านใน ส่วนภายนอกจะเป็นแผ่น สแตนเลสหรือ แผ่นสังกะสีปิดรอบนอก
คุณสมบัติทั่วไปของฮีตเตอร์แผ่น (Strip Heater)
- แผ่นสามารถทำเป็นรูปแบบสี่เหลี่ยมในแบบต่างๆหรือแบบวงกลม
- ตัวเรือนฮีตเตอร์ทำจากสแตนเลส ภายในสามารถเลือกได้ว่าจะใช้เป็นแผ่นฉนวนหรือแกนเซรามิก ทำให้ทนต่อการใช้งาน
- ให้ความร้อนได้คงที่และสม่ำเสมอ
- สามารถเลือกเจาะรูหรือเลือกขั้วต่อไฟได้ตามต้องการ
ลักษณะใช้งานของฮีตเตอร์แผ่น (Strip Heater)
- ใช้ในงานอุตสาหกรรมพลาสติกเช่น ใช้เป็นตัวตัดขวดพลาสติก เป็นต้น
- ใช้ในงานบบรรจุภัณฑ์ เช่น ใช้เป็นตัวให้ความร้อนในการปิดปากถุง เป็นต้น
- ใช้ในงานแม่พิมพ์ เช่น ใช้เป็นตัวให้ความร้อนภายในแม่พิมพ์ เป็นต้น
Back to main menu...
Thermocouple

อุปกรณ์วัดอุณหภูมิโดยใช้หลักการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิหรือความร้อนเป็นแรงเคลื่อนไฟฟ้า ทำมาจากโลหะตัวนำที่ต่างชนิดกัน 2 ตัว นำมาเชื่อมต่อปลายทั้งสองเข้าด้วยกันที่ปลายด้านหนึ่ง เรียกว่าจุดวัดอุณหภูมิ ส่วนปลายอีกด้านหนึ่งปล่อยเปิดไว้ เรียกว่าจุดอ้างอิง หากจุดวัดอุณหภูมิและจุดอ้างอิงมีอุณหภูมิต่างกันก็จะทำให้มีการนำกระแสในวงจรเทอร์โมคัปเปิลทั้งสองข้าง โดยเรียกอุณหภูมิคงที่ที่ใช้อ้างอิงนี้ว่า Reference Junction และได้มีการกำหนด Reference Junction ให้เป็น 0˚C คือโลหะ 2 ชนิดต่างกันที่นำมาเชื่อมปลายเข้าด้วยกันที่ด้านหนึ่งซึ่งเป็นด้านที่ใช้วัดอุณหภูมิ ส่วนอีกด้านหนึ่งต่อเข้ากับอุปกรณ์ใช้งานเช่น เครื่องควบคุมอุณหภูมิ, เครื่องบันทึกอุณหภูมิ เป็นต้น
เทอร์โมคัปเปิล ถูกแบ่งออกเป็น Type ต่างๆ เป็นชนิดหัววัด เช่น เทอร์โมคัปเปิล type k Thermocouple Type k , J , R , RTD Pt100 เป็นต้น ตามการจับคู่ของโลหะที่แตกต่างกัน ทำให้มีคุณสมบัติในการใช้งานเทอร์โมคัปเปิลเลือกใช้ให้ถูกต้อง และเหมาะสมกับงานนั้นๆ โดยสิ่งที่ควรพิจารณามีหลายข้อ เช่น ค่าอุณหภูมิสูงสุดที่ใช้งาน, ราคา, ความกัดกร่อนของสารที่เทอร์โมคัปเปิลสัมผัส ให้เหมาะสมของงานแต่ละประเภท
Back to main menu...